ความรู้เกี่ยวกับเพชร และอัญมณี

  • 4C's
  • H&A ( Heart & Arrow )
  • วิธีการอ่าน Certificate
  • วิธีการวัดขนาดของแหวน

4C's

1. กะรัต - Carat

Carat หมายถึง หน่วยที่ใช้วัดน้ำหนักของเพชร โดย 1 กะรัตเท่ากับ 0.20 กรัม หรือ 100 สตางค์ (points) หลายคนอาจสับสนว่า carat หมายถึงขนาดของเพชร ซึ่งจริงๆแล้วแม้ว่าเพชรสองเม็ดจะมีน้ำหนักเท่ากัน แต่ขนาดอาจจะแตกต่างกันได้ เนื่องจากรูปทรงและการเจียระไน เช่น เพชรที่เจียระไนไม่ได้สัดส่วน หากมีรูปร่างแบน (shallow) จะทำให้หน้า table กว้าง เพชรจึงดูมีขนาดใหญ่ แต่ถ้ามีรูปร่างยาว (deep) ก็จะทำให้ขนาดเล็กลง เป็นต้น

กรณีของพลอยก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะพลอยต่างชนิดย่อมมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากความหนาแน่นที่แตกต่างกันไป แต่หากเลือกเพชรที่มีรูปร่างแบน เพราะต้องการเพชรเม็ดใหญ่เมื่อเทียบกับเพชรเม็ดอื่นๆในน้ำหนักที่เท่ากัน ก็เป็นการตัดสินใจเลือกที่ผิดพลาด เพราะการเจียระไนที่ไม่ได้สัดส่วนแบบนี้ จะทำให้แสงที่ตกกระทบเพชร ไม่เกิดการสะท้อนกลับ ทำให้เพชรขาดประกายเงางาม ซึ่งถือว่ามีคุณภาพด้อยกว่าเพชรที่เจียระไนได้สัดส่วน การเลือกซื้อให้ได้เพชรที่สวยงามนั้นจึงควรใส่ใจที่การเจียระไน (Cut) มากกว่าน้ำหนักของเพชร

กะรัตกับราคาเพชร

น้ำหนักของเพชรไม่ได้เป็นตัวกำหนดความสวยงามหรือคุณภาพเพชร แต่จะเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกำหนดราคา เพชรเม็ดใหญ่ย่อมมีราคาสูงกว่าเพชรที่เล็กกว่า ทั้งนี้ต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ (4Cs) ร่วมด้วย เพราะหากคุณภาพของเพชรเม็ดเล็กดีกว่า ก็เป็นไปได้ที่จะมีราคาสูงกว่าเพชรเม็ดใหญ่

4C's

2. เหลี่ยม - Cut

cut หรือ การเจียระไนสำหรับนักอัญมณีจะหมายถึง สัดส่วนของเพชร (proportions) นั่นก็คือ ความลึก(depth) ความกว้าง(width) รูปทรงของหน้าเจียระไน (facet) และความสมมาตร(symmetry) ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่นักอัญมณีส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความงามของเพชรมากที่สุด ด้วยเหตุที่ว่าเพชรจะไม่มีประกายแวววาวหากไม่ได้รับการเจียระไน แม้ว่าจะมีสีและความสะอาดที่ดีเยี่ยมก็ตาม การเจียระไนที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้เพชรมีประกายแวววาวเมื่อกระทบกับแสง โดยลักษณะของแสง (Light’s performance) ที่ดีนั้น แสงทั้งหมดจะต้องถูกสะท้อนมายังผู้สวมใส่ ให้ความแวววาว (Brilliance) สูงสุด


Too Shallow: แสงหลุดไปด้านล่างไม่กระทบมาด้านหน้า สูญเสียความแววาวไป
      Ideal: เกิด Brilliance สูงสุด
      Too Deep: แสงกระทบแล้วสะท้อนออกด้านข้าง ซึ่งมักจะทำให้เกิดความหม่นหรือสีคล้ำภายในด้วย

4C's

3. ความสะอาด - Clearity

เนื่องจากลักษณะสำคัญของอัญมณีแท้ตามธรรมชาติ คือ ไม่มีอัญมณีใดที่เหมือนกันทุกประการ และไม่มีอัญมณีใดที่มีความสมบูรณ์(perfect) 100% โดยปราศจากมลทินและตำหนิ clarity จึงใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจากความชัดเจน ความมากน้อยของตำหนิภายนอก (blemish) เช่นรอยขีดข่วน (scratch) รอยบิ่น (nick) เป็นต้น หรือมลทินที่อยู่ในเพชร (inclusion) ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องที่มีกำลังขยาย 10 เท่าเป็นเกณฑ์ ดังนั้นหากเพชรที่มี clarity ในระดับที่มองเห็นได้ยาก ด้วยกล้องกำลังขยาย 10 เท่า ก็ถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม

การแบ่งระดับ clarity ของเพชร GIA ได้กำหนดไว้ 10 ระดับ ดังนี้
Flowless (FL) - เป็นเพชรชั้นยอด ไม่มีตำหนิหรือมลทินใดๆในทั้งเนื้อเพชรและผิวของเพชร
Internally Flawless (IF) - ไม่มีสามารถเห็นมลทินภายในใดๆได้ แต่อาจจะมีตำหนิภายนอกเล็กน้อย
Very Very Small Inclusions (VVS1 / VVS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชรและตำหนิภายนอกที่เห็นได้ยากมากๆ ภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า จำแนกออกเป็นระดับ 1 และ 2 ตามลำดับ
Very Small Inclusions (VS1 / VS2) - เป็นระดับของเพชรที่มีมลทินในเนื้อเพชร เช่น crystal cloud feather เป็นต้น และตำหนิภายนอกที่มองเห็นได้ยาก ภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า  ตำหนิและมลทินสามารถเห็นได้ชัดเจน มากกว่าระดับ VVS
Small Inclusions (SI1 / SI2) - เป็นระดับของมลทินที่สามารถมองเห็นได้ทันทีภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าและบางกรณีสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะมีขนาดที่เล็กอาจจะต้องสังเกต
Inclusion or Imperfect (I1 / I2 / I3) - I1 และ I2 จะสามารถเห็นมลทินได้ชัดเจนภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า และสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วน I3 จะเห็นมลทินที่ชัดเจนมากได้ด้วยตาเปล่า เช่น feather และผลึกขนาดใหญ่

4C's

4. สึ - Color

ทำไมเพชรจึงมีสี?
การเกิดสีของเพชรมาจากคาร์บอนในเพชร เมื่อได้รับความร้อนหรือสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบอื่นๆ จะทำให้เพชรมีสีแตกต่างออกไป เช่น เพชรสีเหลืองมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย สีน้ำเงินอาจมีไทเทเนียมและเหล็กเจือปน หรือสีแดงเกิดจากมีโครเมียมเจือปน ส่วนเพชรชมพูนั้น เกิดจากโครงสร้างของตัวเพชรเอง ส่วนสีเขียวเป็นเพชรที่ได้รับรังสี ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นเพชรแฟนซีที่มีสีสันแตกต่างออกไป และราคาแพงมากกว่าสีขาวเนื่องจากหายาก

อย่างไรก็ตามเพชรสีขาวใสสะอาด ยังคงเป็นที่นิยมมากกว่าเพชรแฟนซี แต่ในปัจจุบันได้มีผู้ผลิตหลายรายนำเพชรสีขาวมาปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้เกิดเป็นเพชรสีแฟนซีต่างๆ ขึ้น เช่น ทำการอบ การเผา หรือการฉายรังสี ทำให้เกิดสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีเหลือง และสีฟ้า เป็นต้น

น้ำกับการจัดกลุ่มเพชร
เมื่อกำหนดขนาดของเพชรแล้ว สิ่งที่ผู้ซื้อจะต้องคำนึงถึงในลำดับต่อมาก็คือ สีของเพชร หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า "น้ำ" การจำแนกสีของเพชรจะมีทั้งหมด 23 ระดับ  ตั้งแต่ D ไปจนถึง Z โดยที่ D คือ เพชรที่มีน้ำ 100 เป็นเพชรระดับไร้สีที่ดีที่สุด ไปจนถึง Z ที่จะมีสีเหลืองสด และถูกจำแนกเป็นเพชรสีแฟนซี (Fancy Color Diamond)

สถาบันอัญมณีศาสตร์ชั้นนำได้ทำการการจัดกลุ่มเพชร โดยจัดให้เพชรที่มีสี D, E, F(น้ำ 100, 99, 98) เท่านั้น ที่จัดอยู่ในกลุ่มเพชรไร้สี (Cloorless) ซึ่งเป็นกลุ่มที่หายากและมีราคาสูงที่สุด สำหรับจิวเวลรี่โดยทั่วไป เพชรที่มีน้ำ 97-96-95-94 (G-H-I-J) เป็นเพชรที่ได้รับความนิยม เนื่องจากคุ้มค่าทั้งในแง่ของราคาและคุณภาพ เมื่อนำมาประดับตัวเรือนทองหรือทองคำขาวก็มีความสวยงามแล้ว

Heart & Arrow

เพชรที่มี Cut แบบ shallow หรือ deep โดยทั่วไปมักเรียกกันว่า Indian cut หรือ เหลี่ยมเพชรอินเดีย ต่อมามีการคิดค้น Belgium cut และ Russian cut ออกมา ซึ่งจะดูดีกว่า Indian cut แต่ก็ยังไม่ให้แสงที่สมบูรณ์ จนกระทั่งในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดค้นการเจียระไนที่เรียกว่า Hearts & Arrows (H&A) ซึ่งเป็นการเจียระไนที่ให้แสงที่มีความแวววาวสูงสุดแบบ Ideal cut นับว่าเป็นเพชรที่สมบูรณ์แบบที่สุด

Source : Diamond on net

เพชร Hearts & Arrows จะเห็น pattern รูปหัวใจ 8 ดวงเมื่อมองจากด้านล่าง และ ลูกศร 8 ศร เมื่อมองจากด้านบน โดยหัวใจจะมีขนาดเท่ากันหมด ลูกศรก็จะมีขนาดเท่ากันหมด และทั้งหมด ยังต้องวางตัวอย่างสมมาตรอีกด้วย

ใบรับรองคุณภาพเพชร (Diamond Certificate)

ใบรับรองคุณภาพเพชร (Diamond Certificate or Diamond Grading Report) หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "ใบเซอร์" เป็นเอกสารที่ระบุคุณสมบัติของเพชรเม็ดหนึ่งๆ โดยที่จะไม่มีเม็ดใดเหมือนกันเลย เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของเพชรเม็ดนั้น คุณสมบัติที่ระบุอยู่ในเอกสารนี้ ได้แก่ สัดส่วน น้ำหนักกะรัต การเจียระไน และคุณภาพอื่นๆของเพชร แต่จะไม่มีการประเมินราคาเพชรไว้ในใบรับรองคุณภาพ

เอกสารนี้จะออกโดยสถาบันอัญมณีศาสตร์ (Gemological Institute) ต่างๆ เช่น Gemological Institute of America (GIA) เป็นสถาบันที่ได้รับความน่าเชื่อถือและความนิยมที่สุด Hoge Raad Voor Diamant (HRD) (Diamond High Council, Belgium) เป็นสถาบันที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลเบลเยี่ยม มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือมากเช่นกัน กรณีของประเทศไทยก็มีสถาบันที่รับตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพเพชร เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) เป็นต้น CERTIFICATE ต่างกับ WARRANTY

WARRANTY คือใบรับประกันคุณภาพสินค้า จะระบุ วัน / เดือน / ปี ที่มีการซื้อ – ขาย และกำหนดระยะเวลา ของการรับประกัน CERTIFICATE จะไม่ระบุมูลค่าของสินค้า แต่จะระบุ วัน / เดือน / ปี ที่ได้รับการตรวจสอบ ไม่มีวันหมดอายุ เนื่องจากติดมากับเพชรเม็ดนั้นๆ

ทำไมต้องมีใบรับรอง

  • ทำให้มั่นใจอย่างสูงสุดว่าจะได้รับคุณภาพเพชรที่ต้องการจริงๆเท่านั้น
  • ประหยัดเวลาหาความรู้ไปได้มาก ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเพชรก็สามารถซื้อได้อย่างมั่นใจ
  • สามารถเปรียบเทียบราคาจากร้านจิวเวลรี่หลายๆร้านสำหรับราคาที่ดีที่สุด โดยใช้คุณภาพในใบรับรองเป็นการอ้างอิง
  • หากมองว่าเพชรคือการลงทุนแล้ว ใบรับรองจะเป็นการปกป้องการลงทุนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเพชรแต่ละเม็ดมีคุณภาพเป็นอย่างไร สามารถนำไปอ้างอิงกับราคาในตลาดได้
  • หากต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวเรือน คุณสามารถตรวจดูได้ว่าคุณได้เพชรเม็ดเดิมกลับมาหรือไม่ ไม่มีเพชรเม็ดใดในโลกที่เหมือนกันเนื่องจาก Inclusion ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่ง Inclusion เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ใช้แยกความแตกต่างเพชรของแต่ละเม็ดออกจากกัน โดยในใบรับรองจะระบุขนาด/ตำแหน่งของ Inclusion ไว้ ทำให้สามารถตรวจสอบเพชรจากใบรับรองได้ทันที

Content for id "certificate" Goes Here

การวัดขนาดของแหวน

การวัดขนาดนิ้วสวมแหวนนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้

วิธีแรก
1. นำเชือก หรือ ลวดมัดถุงขนมปัง มาพันรอบ ๆ นิ้วที่คุณต้องการ
2. ควรวัดที่ขนาดของข้อนิ้ว ในกรณีที่ข้อนิ้วใหญ่
3. วัดขนาดเชือก หรือ ลวดที่วัดได้เป็นมิลลิเมตร แล้วลบ 6

ตัวอย่างเช่น : วัดขนาดได้ 56 มิลลิเมตร ลบด้วย 6 จะได้ขนาดของแหวน คือ 50

วิธีที่สอง
1. เลือกแหวนที่ใส่พอดีกับนิ้วที่จะวัดขนาด
2. วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและเทียบตามตารางดังนี้

mm. 15.3 15.6 16 16.5 17 17.2 17.5 17.8 18 18.5 18.8 19 20
Size 48 49 50 52 53 54 55 56 57 58 59 60 63

***ลองทำทั้งสองวิธีแล้วเอามาเทียบกันดูนะคะ***